ใบบัวบก
- บัวบก ชื่อสามัญ Gotu kola
- บัวบก ชื่อวิทยาศาสตร์ Centella asiatica
เมื่อพูดถึงบัวบก สมุนไพรชนิดนี้ขึ้นมาทีไร หลาย ๆ คนคงนึกไปว่ามันแค่ช่วยแก้อาการช้ำในเฉย ๆ (ส่วนอาการอกหักนี้ไม่เกี่ยวกันนะ) แต่ในความเป็นจริงแล้ว บัวบกหรือใบบัวบกนั้นมีสรรพคุณมากมาย เพราะได้รับการกล่าวขานเกี่ยวการรักษาโรคได้หลายชนิด อย่างโรคลมชัก โรคผิวหนัง ท้องเสีย ท้องอืด แผลในกระเพาะอาหาร มีฤทธิ์กล่อมประสาท ช่วยบำรุงสมอง เพิ่มความจำ ช่วยลดความอ่อนล้าของสมอง ใบบัวบก มีสารประกอบสำคัญหลายชนิด อย่างเช่น บราโมซัยด์ บรามิโนซัยด์ ไตรเตอพีนอยด์ มาดิแคสโซซัยด์ ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยต้านการอักเสบ และยังมีกรดมาดิแคสซิค วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 วิตามินเอ วิตามินเค ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโซเดียม และกรดอะมิโน อย่างเช่น แอสพาเรต กรดกลูตามิก เซรีน ทรีโอนีน อะลานีน ไลซีน ฮีสทีดิน เป็นต้น
ประโยชน์ของใบบัวบก
- บัวบกเป็นพืชที่มีแคลเซียมในระดับปานกลางถึงสูง แต่มีระดับสารออกซาเลตที่เป็นอันตรายต่อร่างกายในปริมาณต่ำ
- ใบบัวบกช่วยคืนความอ่อนเยาว์ ย้อนอายุและวัย
- ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ
- ช่วยเสริมสร้างและกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน
- มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต่อต้านการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆในร่างกาย
วิธีทำน้ำบัวบก
- วิธีทำน้ำบัวบก ควรเลือกใช้ใบบัวบกที่แก่กว่า กินเป็นผักสด โดยใช้ทั้งรากนำมาล้างน้ำทำความสะอาด
- ใบบัวบกจะเหนียวให้ตัดเป็น 2-3 ท่อน ก่อนนำมาบด
- คั้นน้ำแรกโดยผสมน้ำกับใบบัวบกที่บด แล้วนำกากที่เหลือมาคั้นน้ำที่สองเพื่อให้ได้ตัวยาสมุนไพรที่ยังเหลืออยู่ (ควรใช้น้ำสะอาด และห้ามใช้น้ำร้อนหรือนำน้ำที่คั้นได้ไปต้ม)
- กรองน้ำบัวบกด้วยผ้าขาวบางห่าง ๆ (แบบผ้ามุ้ง ถี่มากจะกรองไม่ได้)
- หลังกรองจะมีกากให้ทิ้งไป ให้รินเฉพาะน้ำส่วนใส ๆ มาดื่ม
- น้ำบัวบกต้องคั้นใหม่ ๆ จากใบสด ๆ และไม่ควรเก็บน้ำที่คั้นได้ไว้นานหรือควรแช่เย็นเก็บไว้
- น้ำเชื่อมถ้าทำมาจากน้ำต้มใบเตย จะทำให้น้ำบัวบกอร่อยมากขึ้น
Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!